วิเคราะห์ภาพยนต์เรื่อง What Dreams May Come
นักแสดง : Robin Williams, Cuba Gooding, Jr., Annabella Sciorra ผู้กำกับ : Vincent Ward
คนเรามักเชื่อกันว่า หากทำความดีเมื่อตอนมีชีวิตอยู่ ครั้นพอตายไป วิญญาณก็จะล่องลอยไปสู่สรวงสวรรค์เพื่อไปพบกับความสุข ความสบาย ว่าแต่ว่าถ้าเราลองคิดกันต่อไปว่า หากเราได้อยู่บนสวรรค์และต้องพบว่าคนที่เรารักนั้นกลับต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ ในนรกโลกันต์ เราจะยอมเสี่ยงลงไปนรกเพื่อช่วยคนที่เรารักหรือไม่?
What Dreams May Come เป็นอีกบทหนึ่งของความรักที่สามารถพาหัวใจคนดูล่องลอยไปกับฉากอันวิจิตรตระการตา ได้ตลอดกว่า 90 นาที
การ จากไปของคริส (โรบิน วิลเลียม) หมอหนุ่มใหญ่ผู้รักครอบครัว ทำให้แอนนี่ (อนาเบลลา ซิออรา) ภรรยานักวาดรูปที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาต้องเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมากหลัง จากที่ได้สูญเสียลูกทั้งสองคนไปเมื่อ 4 ปีก่อน แทนที่เมื่อเวลาผ่านไปจะช่วยรักษาแผลใจของแอนนี่ มันกลับทำให้เธอต้องทนทุกข์ทรมานมากกว่าเดิม จนเมื่อถึงที่สุดเธอได้ใช้การอัตวินิบาตตนเองเป็นทางออกซึ่งแทนที่จะทำให้ วิญญาณไปสู่สวรรค์มันกลับทำให้เธอต้องตกนรกไปชั่วกัปป์ชั่วกัลป์ เมื่อความรู้ถึงคริสสามีที่อยู่บนสวรรค์ เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปยังนรกเพื่อปลดปล่อยวิญญาณของแอนนี่ให้เป็นอิสระ
ภาพยนตร์ เรื่อง What Dreams May Come นี้ ดัดแปลงมาจากนิยายตั้งแต่ปี 1977 เป็นบทประพันธ์ของ Richard Matheson (ยอดนักเขียนแนวแฟนตาซี เจ้าของนิยาย I am legend ที่ วิล สมิธแสดง เขาเขียนอุทิศแด่ภรรยา ) โดย Ronald Bass ( ผู้ดัดแปลง)เคยได้รับรางวัลออสการ์จากภาพยนตร์เรื่อง Rainman มาแล้ว นอกจากนี้ยังฝากฝีมือไว้ในภาพยนตร์แนวรักโรแมนติกอีกหลายต่อหลายเรื่อง เช่น My Best Friend’s Wedding, When A Man Loves A Woman ฯลฯ สำหรับแก่นหรือธีมของเรื่องนั้น What Dreams May Come ต้องการที่จะสื่อให้เห็นถึงศรัทธาแห่งความรักของคนทั้งสองคนที่ไม่ว่า อุปสรรคใดๆ ก็มิอาจขวางกั้นความรักที่มีให้กันและกันได้
เกือบ 30 ปีที่แล้ว Vincent Ward ในวัย 21 ปี เพิ่งจบจากโรงเรียนศิลปะหมาดๆ ใช้บ้านหญิงชาวเมารีชื่อพูฮี เป็นที่พักพิง ขณะสำรวจถิ่นอูเรวาร่าศึกษาวิถีชีวิตแบบเก่าของชนเผ่าพื้นถิ่น เพื่อทำหนังสารคดี In Spring One Plants Alone ที่กลายเป็นงานระดับรางวัล ความลึกลับบางอย่างที่สัมผัสได้ในเวลานั้น ตามรบกวนจิตใจเขามาสามทศวรรษ จนต้องกลับไปคลี่คลาย Rain of the Children คือการค้นหาเกี่ยวกับตัวตนของพูฮี คำสาปแช่งที่เธอเชื่อว่าเธอตัวเองเป็นเหยื่อ เรื่องน่าเศร้าสลดที่เธอสูญเสียลูก 10 คน และเหตุการณ์ม่ธรรมดาอื่นๆ จากการอยู่ในถิ่นนั้นทั้งชีวิต
Vincent Ward ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนทำหนังที่สร้างสรรค์ภาพได้โดดเด่นเป็นตัวของตัวเอง ในการเล่าเรื่องสะท้อนความเป็นมนุษย์ Vigil (1984), The Navigator (1988) และ Map of the Human Heart (1993) เป็นผลงานฝีมือชาวนิวซีแลนด์ 3 เรื่องแรกที่ได้รับเลือกอย่างเป็นทางการเข้าร่วม Cannes Film Festival และในปี 1999 What Dreams May Come ที่นำแสดงโดย Robin Williams ได้รับการเสนอชื่อเช้าชิงรางวัลออสการ์ ในส่วนงานออกแบบสร้างและเทคนิคพิเศษด้านภาพ โดยคว้ารางวัลหลังมาครองได้สำเร็จ
การวิจารณ์ภาพยนตร์ของผู้ที่สนใจ ( กรณียกตัวอย่างวิธีการวิจารณ์ในมุมมองหนึ่ง ) แม้ว่าผมจะชอบภาพยนตร์รักโรแมนติกมากเพียงใดก็ตาม แต่สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ผมกลับชอบน้อยกว่าภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ก็เพราะว่าผมรู้สึกเอียนกับถ้อยคำหวานๆ ที่พรั่งพรูออกมาแทบจะทุกๆฉากเลยทีเดียว แต่ในด้านสเปเชียลเอฟเฟ็คนั้น ผมต้องขอยกนิ้วให้เลย เพราะถ่ายทำได้ดีมากและสวยมาก เอาเป็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เหมาะกับบุคคล 2 ประเภท มากที่สุด คือ “คู่รักที่เพิ่งรักกันใหม่ๆ” และ “นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่สาขาการถ่ายทำภาพยนตร์”
generdius ความอ่อนไหว พริ้วแบบไม่มีทิศทางของเนื้อหา ที่เหมือนจะหยุดอยู่กับที่ ทำให้"วอท ดรีมส์ เมย์ คัม"กลายเป็นนิทานก่อนนอนได้อย่างไม่ยาก สำหรับคอหนังประเภทวัยรุ่นใจร้อน ขอแนะ อย่างกระเสือกกระสนหามาดูให้เสียเวลาเปล่า วิญญาณที่เพรียกร้องของ โรบิน วิลเลี่ยม จนไม่ยอมไปผุดไปเกิด บวกกับจินตนาการอันไร้ขอบเขตของภาพแห่งความฝัน(คนเดียว)ของตัวละคร กระตุกสายตาคนดูเป็นระยะ ให้หายจากอาการง่วงหงาวหาวนอนได้พอสมควร แต่ก็อย่างว่านั่นแหละ การที่หนังเดินเรื่องเนิบนาบเกินไป ก็เลยทำให้เกิดอาการน่าเบื่ออย่างบอกไม่ถูก โรบิน วิลเลี่ยม ก็ยังติดกับภาพจำอวดเป็นระยะเหมือนกัน ส่วนสาว แอนนะเบลล่า สเคอร์ล่า งานี้ขนน้ำตามาเป็นรถบรรทุกเอาเลย เพราะมีแต่ขายน้ำตาล้วน ๆ ความตื่นตาของคอมพิวเตอร์กราฟฟิคดูจืดชืดไปทันใด เมื่อมาถึง ค.ศ.นี้ เพราะมีอะไรใหม่ ๆ ให้ตื่นตากว่าที่เห็น ส่วนดีสุดของหนังเรื่องนี้ก็คือ ทำให้คำถามที่เคยเกิดขึ้นว่า"ตายแล้วไปไหน ? " คำตอบก็คงจะอยู่ในหนังเรื่องนี้แล้ว ใครจะไปรู้ว่าพอตายไปแล้วจะไปเจอะเจอกับความงดงามได้ถึงปานนี้ บอกตามตรงครับ หนังเรื่องนี้ขายตรงเอฟเฟ็คล้วน ๆ ส่วนอื่นลืมไปได้เลย แม้แต่ระดับฝีมืออย่าง โรบิน วิลเลี่ยม...!!! But you don’t have to break in half to love somebody
ถ้าจะถามว่าเหตุใดสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอและไร้ซึ่งเขี้ยวเล็บที่เรียกตัวเองว่า “มนุษย์” จึงสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้ครอบครองโลกใบนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ผมคงจะตอบว่าเพราะเรามีพัฒนาการทางด้านความคิดที่เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใด ๆ ในโลก มนุษย์นั้นมีสมองที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ๆ และการทำงานของมันก็แทบจะไร้ซึ่งขีดจำกัดหากรู้จักการใช้อย่างฉลาด อวัยวะหยุ่น ๆ น้ำหนักประมาณกิโลกว่า ๆ ที่บรรจุตัวเองอยู่ภายในกะโหลกทำให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนโลกได้ทุกชนิด หรือ-ในความเป็นจริง-ปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับพวกเราเอง จนอาจจะเรียกได้ว่าแม้กระทั่งธรรมชาติที่เป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่งก็ยังต้องเพลี่ยงพล้ำให้กับมนุษย์ที่เพิ่งเกิดมาบนโลกได้ประมาณ 200,000 ปีมานี้นี่เอง แต่ถ้าจะถามต่อว่าสิ่งใดคือความวิเศษสูงสุดของความเป็นมนุษย์, การที่เรามีอารมณ์ความรู้สึกและสามารถแสดงสิ่งเหล่านั้นออกไปได้นี่แหละที่จะเป็นคำตอบของผม เพราะโดยแท้แล้วพื้นฐานของมนุษย์ก็ไม่ได้แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นในแง่ของการทำทุกวิถีทางเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของตนไว้ให้นานที่สุด แต่เพราะเรามีอารมณ์และความรู้สึกจึงทำให้เราเรียนรู้ที่จะข่มสัญชาตญาณ รวมทั้งแสดงออกมาในทิศทางที่สร้างสรรค์ตามกระบวนการทางสังคม เช่น รู้จักต่อแถวซื้ออาหาร, ประเพณีการแต่งงาน เป็นต้น นอกจากนี้สิ่งดังกล่าวยังทำให้สังคมมนุษย์มีสีสันและความหลากหลายอีกด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือ อารมณ์และความรู้สึกทำให้ “คน” เป็น “มนุษย์” นั่นเอง และผมเชื่อว่าพื้นฐานของอารมณ์ความรู้สึกทั้งหมด คือ “ความรัก”
*Across whatever distance there is, I send you my love What Dream May Come (พลังรักข้ามขอบฟ้า ตามรักถึงสวรรค์) บอกเล่าเรื่องราวความรักของคริส นีลเซ่น (Robin Williams) และแอนนี่ (Annabella Sciorra)-สองสามีภรรยา-เนื้อเรื่องเริ่มต้นที่ทะเลสาปแห่งหนึ่งที่รายล้อมไปด้วยภูมิประเทศอันสวยงาม ความรักของพวกเขาเกิดขึ้นที่นี่ งดงามและน่าจดจำ ไม่กี่เดือนต่อมาทั้งคู่ก็แต่งงานกัน คริสเป็นกุมารแพทย์ เขามีนิสัยสุขุมและไม่เคยยอมแพ้ แอนนี่เป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จ เธออ่อนหวานและน่าหลงใหล พวกเขาคือคนที่ฟ้าสร้างมาให้คู่กันอย่างแท้จริง ลูกสองคน และความรู้สึกรักไม่เคยเปลี่ยนของทั้งสองมันบอกอย่างนั้น แต่เวลาแห่งความสุขก็อยู่กับครอบครัวนี้ไม่นาน การเสียชีวิตของลูก ๆ เพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของคริสผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ได้ทำให้หัวใจของแอนนี่แตกสลาย และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอรักไม่ได้อยู่บนโลกนี้อีกแล้ว แอนนี่จึงตัดสินใจจบชีวิตที่ทุกข์ทรมานลงด้วยการฆ่าตัวตาย โดยที่หารู้ไม่ว่ามันเป็นบาปอันใหญ่หลวง และบทลงโทษก็คือการที่วิญญาณของเธอจะต้องติดอยู่ในห้วงทุกข์ของความทรงจำที่ไม่มีวันหลุดพ้น ไม่มีโอกาสได้ขึ้นสวรรค์ตลอดไป นี่เอง, จุดเริ่มต้นของการเดินทางไปในโลกหลังความตายของคริสเพื่อตามหาแอนนี่หญิงอันเป็นรักแท้ของเขาก็ได้เกิดขึ้น
*Sometime when you lose, you win ความประทับใจแรกของผมใน What Dream May Come คือภาพกราฟฟิคภายในหนังที่งดงามมาก ๆ ราวกับอยู่ในความฝันเลยทีเดียว รวมไปถึงการนำเสนอโลกหลังความตายที่ถือว่าค่อนข้างแปลกมากสำหรับหนังทางฝั่งตะวันตก แต่ประเด็นเรื่องความรักที่หนังเรื่องนี้สื่อออกมาคือสิ่งที่ “โดน” ใจผมมากที่สุด เพราะความรักใน What Dream May Come หาได้กินความหมายเพียงความรักระหว่างคริส-แอนนี่ซึ่งเป็นตัวแทนของความรักในเชิงชู้สาวหญิง-ชายเท่านั้น หนังยังได้รวมเอาความรักระหว่างพ่อแม่กับลูก อาจารย์กับศิษย์ แพทย์กับคนไข้ มนุษย์กับมนุษย์ รวมทั้งมนุษย์กับสัตว์เข้าไว้อีกด้วย
หรือหากเรามองให้ตัวเอกเป็นจุดศูนย์กลางของความรัก จะพบว่าคริสคือคนที่พร้อมมอบความรักให้กับคนทุกคนที่อยู่รอบข้าง ไม่ว่าจะด้วยรอยยิ้ม การรักษาคำพูด ท่าทีที่เป็นกันเอง การช่วยผู้อื่นโดยไม่ลังเล รวมทั้งคำพูดที่จริงจังก็ตาม ตราบใดที่มันออกมาจากหัวใจที่เปี่ยมรักและไม่เสแสร้ง คนอื่น ๆ ย่อมรับรู้ และพร้อมที่จะมอบความรักกลับคืนมาให้โดยไม่ลังเล นี่เองที่ทำให้เมื่อตอนที่มีชีวิตอยู่คริสจึงมีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับรักจากภรรยาและลูก ๆ ที่น่ารัก คนไข้เด็กที่เอาใจยากกลับเชื่อฟังเขา และแม้แต่ในโลกหลังความตายคริสก็ยังไม่เคยเดียวดาย
อยากให้หลาย ๆ คนได้รับรู้ถึงความรักอันอบอุ่นที่มีอยู่รอบกาย ได้รู้จักรักตัวเองและเห็นคุณค่าของคนอื่นมากขึ้น เหมือนที่ผมรู้สึกภายหลังจากได้ดูหนังเรื่องนี้ เพื่อที่ว่าเมื่อสักวันหนึ่งที่เราต้องตกไปอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย ไม่มีใครให้พึ่งพิง มองไปข้างหน้าก็มืดมิดไร้แสงนำทาง, พวกเราจะยังคงมีเชือกป่านให้เกาะกุมและสามารถเดินต่อไปได้… เชือกป่านแห่งความหวังที่เรียกว่า “ความรัก” นั่นเอง
การวิจารณ์ภาพยนตร์ของผู้จัดทำ “ ภาพยนต์ทุกเรื่องที่ถูกสร้างขึ้นมา ไม่ได้สนุกเฉพาะเรื่องราวที่นำเสนอให้เห็นบนหน้าจอเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นความบันเทิงที่ทุกคนยอมรับว่า ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดที่เกิดขึ้นจากภาระหน้าที่การงานหรือจากปัจจัยอื่นๆรอบตัว การดูภาพยนตร์ยังเป็นที่นิยมชมชอบจากคนทั้งโลก จึงมีการแข่งขันการผลิตภาพยนตร์ดีๆออกมาฉายเพื่อรองรับความต้องการ แต่ละแห่งจึงทุ่มเทความสามารถและเงินทุนมหาศาลเพื่อเนรมิตเรื่องราวที่สร้างนั้นให้ยิ่งใหญ่สมจริง เช่น การดูโลเกชั่นในที่ต่างๆเพื่อใช้ถ่ายทำ การสร้างฉาก การเลือกตัวแสดง การดีไซน์เครื่องแต่งกายตัวแสดง การแต่งหน้า การมี CG เข้ามาเกี่ยวข้อง ความยุ่งยากก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ ดังเช่นเรื่องที่ข้าพเจ้า(ผู้วิจารณ์)จะกล่าวถึงนี้ What Dreams May Come เปิดตัวได้สวยงามและประสบความสำเร็จอย่างมาก กับเนื้อเรื่องที่ดำเนินไปอย่างกระชับรวดเร็วต่อเนื่องไปตามการดำเนินชีวิตของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ความรวดเร็วในการตัดต่อ เชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่าง ความเร็วของเนื้อหา กับเวลาที่เร่งรีบ เปรียบประดุจกับความเร็วจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิก มีการสร้างฉากจำลองของธรรมชาติทับซ้อนกับโลกของคอมพิวเตอร์ แต่ ยังคงแฝงไปด้วยความเหมือนจริงเอาไว้ในรายละเอียดทุกจุด เรื่องราวนี้กลายเป็นบริบทของการทำความดีและการทำความผิดที่ใช้อธิบายถึงความเป็นมนุษย์ ล้วนเต็มไปด้วยความแตกต่างทางความคิดของการอยู่รอด ในสังคมหนึ่งที่มีมุมมองและจินตนาการต่างกันไป
นอกจากจะได้ซาบซึ้งกับเรื่องคู่แท้แล้ว ยังว่าด้วยหลักการ เวียน ว่าย ตาย เกิด สวรรค์ นรก ที่ว่ากันด้วยเรื่อง “มโนจิต” คือ สำเร็จได้ด้วยจิต แล้วยังพูดถึง Guides วิญญาณนำทาง พูดถึงการสับเพศ หน้าตา เมื่อไปถึงระดับโลกวิญญาณ เพื่อเปิด รับตัวจริงของกันและกันโดยไม่ยึดติดที่รูปลักษณ์ของภพโลก (ที่เราตายจากมาแล้วเรียกว่าเลิกยึดติดนั้นเอง) ภารกิจของดวงวิญญาณในระดับ Spirits level สำคัญมากตรงที่เน้นประเด็นคนฆ่าตัวตายจะติดอยู่ในภพที่ไม่ไปไหนจนกว่าจะถึงวาระการตายจริง ๆ เพราะกรรมหนักของคนฆ่าตัวตายอยู่ที่เขายอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรค์ชีวิตนั่นเอง
เครดิดไตเติ้ลนำ – จบ ดำเนินไปกับการดูของเรื่อง ถือว่าดีมาก เนื่องจากไม่รบกวนการมีสมาธิสติ ที่จะรับชมเพิ่มมากขึ้น ตัวหนังสือที่เป็นไตเติ้ลนุ่มนวลค่อย ๆ เลือนเข้า – ออก( Fade in – out )
โลเกชั่น มีความสวย งดงามมาก หรือที่ตรงข้ามกับความสวยก็จะดูหน้ากลัว เมื่อภาพยนตร์จบลง จะรู้สึกคล้ายกับว่าเราอยู่ที่ใหนสักแห่ง แต่ไม่ใช่โรงภาพยนตร์
การถ่ายภาพ ละเอียดทุกมุมมอง มีการทิ้งช่องว่างจากองค์ประกอบของภาพ ทำให้ผู้ชมได้หายใจ ไม่อึดอัดขณะรับชมภาพยนตร์ มีการใช้แสงช่วยเป็นหลัก ในการถ่ายภาพ ทำให้อารมณ์ของผู้ชมมีมากขึ้น ไม่กระชากความรู้สึกจะสังเกตุได้จากมุมกล้องที่เริ่มจาก LS → MS → CU → CCU → CU → MS → LS และมีการ Dolly เข้าหาวัตถุที่จะสร้างอารมณ์ได้มากขึ้น เป็นการกำหนดให้เกิดความรู้สึกเศร้า หรือ ปลื้มปิติ
การดำเนินเรื่อง (บท) เนื้อหา สลับกันไปมา คนดูเกิดความสงสัยตลอดเวลา อย่างต่อเนื่อง ชอบ ที่มีการสร้างความรู้สึกให้รวดเร็ว ไม่ยืดเยื้อ เพราะผู้สร้างต้องการให้มีเวลา มีความรู้สึก ไปอยู่กับส่วนที่จะจินตนาการ ของสวรรค์ กับ นรก จากการใช้ CG จุด CRYMAXของเรื่องที่จะ แทรกให้เห็น ว่าทำไมฝ่ายหญิงถึงมีบ่วงกรรมอย่างทุกข์ทรมานในโลกมนุษย์ ให้สังเกตุตอนที่ แอนนี่ สนทนากับลูกที่จะฆ่าสุนัข ของลูกเพราะทุกข์ทรมาน Marie : When she goes to the hospital , I’m going too . Annie : Marie . Katie’ s not . . . Katie’ s not going there to get better . Sugar ? . . . They’ re gonna give her a shot and she’ ll fall asleep . Marie : You’ re going to kill my dog ? Annie : I’m going to help her die, yes .
จุดนี้เป็นจุดเด่นของเรื่องที่จะตัดสินและลงโทษฝ่ายหญิง ในการสูญเสียครอบครัวโดยไม่รู้ตัว ผู้สร้าง( ผู้กำกับ)ต้องการให้ผู้ดู วิเคราะห์และแยกแยะประเด็นหลักเอาว่าจะเอาจุดใหนที่สามารถเห็น สวรรค์และนรก จะต้องมีความรู้สึกถูก-ผิดอยู่ตลอดเวลา ถือว่าฉากนี้บ่งบอกความรู้สึกได้ดีมาก ที่จะดูการดำเนินเรื่องต่อไปได้อีก บางคนเลือกที่จะดูแบบใช้ความคิดผูกมัดอยู่กับเนื้อหา แต่ผู้วิจารณ์(ข้าพเจ้า) เชื่อว่าบางคนตั้งโจทย์เข้าหาประเด็น ระหว่างความจริงกับการกระทำที่จะส่งผลออกมา ให้รู้ว่า จะอยู่อย่างไรบนโลกมนุษย์ต่อไป เมื่อดูภาพยนต์เรื่องนี้จบ
เพลงประกอบและ Sound effects แทรกได้ดีทุกตอน ความเร็วของเพลงสัมพันธ์กับเรื่อง ช้าๆอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการสูญเสีย ภาพกับเสียงและเทคนิค (ของเสียง) กลมกลืนจนเป็นชิ้นงานเดียวกันได้ดีมาก น้ำหนักของเสียงลงได้จังหวะ ตรงไหนจะหนักและเบา ทำให้สามารถมอง(ดู) ภาพการสูญเสียจากฝ่ายหญิง สำหรับฝ่ายชาย ค่อนข้างจะเป็นการสูญเสียที่ยังไม่เหงาเอาซะทีเดียว มีความปราถนาบนความหวังอย่างแรง การดำเนินเรื่อง มีการทวนกระแสของความเป็นตัวเอง
Computer Graphic (CG CGI 3D 2D) สุดยอด ยกนิ้วให้ ทำให้ทุกคนเกิดความรักในงานจิตรกรรม เข้าใจในงานจิตรกรรม สามารถสร้างความรู้สึกถึงการทำให้มีความสุข มีประโยชน์ที่ใช้งานจิตรกรรม เป็นสิ่งผ่อนคลายได้ทุกเรื่อง จนเห็นว่าเป็นการรวบรวมงานศิลปะจิตรกรรมอันงดงามไว้ด้วยกัน ในรูปแบบที่คาดไม่ถึง
การตัดต่อลำดับภาพ บางครั้งเป็นแบบ Linear บางครั้งเป็นแบบ Non-Linear ให้ผู้ชมได้สร้างความรู้สึก ผิด-ถูก ประมวลผลของภาพ จากความคิดภายใน ให้งานจิตรกรรม เป็นผู้สกดอารมณ์รู้สึกชอบ และ ไม่ชอบ เวลาเดียวกัน การมองภาพที่เกิดขึ้นขณะชมภาพยนตร์ จะมีการลุ้นระทึกตลอดเวลา ถึงการเห็นภาพที่สวย และ สวยยิ่งขึ้นไปอีก สร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้ชม-การตัดต่อเรื่องได้อย่างน่าอิจฉา โดยใช้เทคนิค CG เข้ามาตอกย้ำความรู้สึกให้เกิดความโหยหาต่อไปได้อีกนานพอดู
ผู้แสดง พล็อตเรื่องที่นักแสดง แสดงซ้อนทับกันอยู่ บนโลกความเป็นและความตาย เป็นการแสดงอันยอดเยี่ยมมากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
ผู้กำกับ(ผู้สร้าง) เป็นสไตล์การกำกับที่โดดเด่น เต็มไปด้วยภาพสวยๆ แอ็คชั่นและอารมณ์หลากหลายในภาพยนตร์เรื่องนี้ ดูแล้วคล้ายกับผู้กำกับต้องการสร้างภาพยนตร์หลายๆเรื่อง ให้อยู่ในเรื่องเดียว ผู้กำกับสามารถสร้างให้นักแสดงทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างชัดเจนมาก ทำให้ดูเกินหน้าเกินตา องค์ประกอบอื่นๆของภาพยนตร์ ที่อยู่รอบข้างตัวเขาเอง
สรุป ผู้วิจารณ์(ข้าพเจ้า) เลือกเรื่องนี้มาเพื่อที่จะให้เห็นว่า น่าจะนำไปเป็นตัวอย่างของการลำดับเรื่องแบบ Non-Linear ทุกครั้งมีอิสระทางการรับชม วิเคราะห์สรุปเรื่องได้อย่างไม่หลงประเด็นของการแยกแยะ ระหว่าง ความดี ความเลว นรก สวรรค์ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย คิดกันเอาเองได้อย่างเสรี ประเด็นหลักของเรื่องข้าพเจ้าว่าอยู่ตรงส่วนนี้ ถ้าเราดูแล้ว หลงไปกับประเด็นของความ เพลิดเพลิน สวยงาม ที่ผู้สร้างต้องการสร้างขึ้นมาให้เห็นว่า ความสวยงาม ความเพลิดเพลิน บางครั้ง ไม่ได้อยู่บนความสุข ลึกๆ ภายใน ต้องมีการเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ ที่จะอยู่อย่างไร ให้สังคมยอมรับ และสร้างสังคมอย่างไร ให้มีประโยชน์ ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน “ความรักแท้ความเสียสละ จะก่อให้เกิดได้ ต้องเริ่มต้นจากภายในครอบครัวของตนเอง” บนโลกมนุษย์ ไม่มีสิ่งไหน ถูก หรือ ผิด เป็นความคิดของเราเองที่จะจินตนาการขึ้นมา และดำเนินชีวิตไปตามที่เราลิขิต หรือ ถูกลิขิตจากสวรรค์มาแล้ว
ชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มาก เพราะ ตาที่เรามองเห็นจะเห็นแต่ภาพที่สวยงามจริงๆ อย่างสุดซึ้ง ความสวยงามยังไม่เพียงพอเท่านั้น ยังเพิ่มเติมตกแต่งเข้าไปอีก(สวรรค์) แต่หารู้ไม่ว่า เปลือกนอก ดังที่ตาเราเห็น แต่ภายใน เจ็บปวด รวดร้าว แสวงหาอยู่ตลอดเวลา อย่างไม่มีที่สิ้นสุด(นรก) ผู้วิจารณ์(ข้าพเจ้า) ยังมองเห็นคุณค่าของความมีคุณธรรม-จริยธรรม สอดคล้องกับภาพยนตร์ไทย นั่นก็คือ “ข้างหลังภาพ”